ความเป็นมา

ศาสตร์พระราชา คือ องค์ความรู้ของพระราชา (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่9) ที่ทรง ช่วยเหลือ ปวงชนชาวไทย เป็นการวางแนวทาง แนวคิด ทฤษฎี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการ ขั้นตอนการทรงงาน และโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริซึ่งมีมากกว่า 4,000 โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหา ของประชาชนของพระองค์ท่าน เช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดําริทั้ง 6 ศูนย์ โครงการ พัฒนาแหล่งน้ำ ฝายชะลอความชุ่มชื้น(CheckDam) การทำฝนเทียมหรือฝนหลวง โครงการแก้มลิงแก้น้ำท่วม น้ำแล้ง การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กังหันชัยพัฒนา – เติมออกซิเจน โครงการหญ้าแฝก หลักเกษตรทฤษฎีใหม่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก้วิกฤตต้มยํากุ้งหรือ ฟองสบู่แตก จวบจนทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่าศาสตร์ของ พระราชามีความหลากหลายครอบคลุมการแก้ไขปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล จนถึงระดับมหภาค หรือระดับประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนําไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จ อย่างเป็นรูปธรรมได้ในปัจจุบัน

    “หลักการทรงงาน” เป็นแนวคิดที่สมควรนํามาประยุกต์ใช้กับชีวิตการทำงานโดย ดําเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและสามารถปฏิบัติได้จริง “เศรษฐกิจ พอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับจังหวัด ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะ การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมี เหตุผล รวมถึงความจําเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุมกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนําวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มี จิตสํานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความวินัย เพื่อให้เยาวชนเติบโต “การศึกษา คือ ความมั่นคงของประเทศ”

พระราโชบาย   “…ข้าพเจ้าได้ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครต่อเนื่องเป็นเวลา 30 ปีแล้ว ทำให้รู้สึกมีความสุขและผูกพันกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหลายอย่างมาก ไปทุกครั้งก็มีความสุขอยากให้ทุกคนมีกำลังใจที่จะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏของเราเป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค และท้องถิ่นจริง ๆ จัง ๆ มนเรื่องการดำรงชีวิต ในเรื่องความรู้ทั่วไปและข้อสำคัญคือผลิตคนดี ผลิตคนดีที่เห็นประโยชน์แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสังคม คิดว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่เป็นประโยชน์ และกลไกที่พัฒนาประเทศได้อย่างยิ่งถ้าหากตั้งใจ ร่วมกัน และคุยกันมาก ๆ จะเป็นสถาบันหลักที่พัฒนาประเทศและประชาชนได้อย่างมาก …”
    พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 พระที่นั่งอัมพรสถาน

วิสัยทัศน์   ภารกิจทั้ง 4 ด้าน ในการเป็นหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ท้องถิ่นได้รับการพัฒนา
      -พัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย
      -พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสกลนคร จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม
      -หนองหารศึกษา ภูพาน อินโดจีน
ครูของท้องถิ่น
      -การผลิตและพัฒนาครู (นักศึกษาครู/ครูประจำการ)
      -ทักษะในศตวรรษที่ 21
      -ภูมิปัญญา
 นวัตกรรมการบริหารจัดการ
       – การบริหารจัดการคุณภาพโดยคณะ สถาบัน
       – สนับสนุนให้ชุมชนใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม
 ความยั่งยืนของรายได้
      – ยกระดับคุณภาพการศึกษา
      – สร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชน
      – พัฒนาศักยภาพของบุคลากร/ประชาชนในท้องถิ่นโดยคณะ สถาบัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พันธกิจ   
– เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาโดยยุทธศาสตร์ การผลิตและพัฒนาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นศตวรรษที่ 21
    – ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืนโดยยุทธศาสตร์ ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชน
    – ชุมชนมีการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมโดยยุทธศาสตร์ นวัตกรรมการบริหารจัดการ

ยุทธศาสตร์   
“มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นครูของแผ่นดิน พัฒนาท้องถิ่นสู่สากลด้วยนวัตกรรม” 

สืบสาร รักษา ต่อยอด
    มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งได้น้อมนำศาสตร์พระรา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สู่ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการผลิต บัณฑิตที่มีคุณภาพ การพัฒนาการวิจัยและงานสร้างสรรค์ การส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น และการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ   ในปี 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้ “สืบสาน รักษา ต่อยอด”ศาสตร์พระราชาโดยการน้อมนำพระราโชบายเพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ 4 ยุทธศาสตร์ คือ การผลิตบัณฑิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ระดับสากล การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพซึ่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้วยความภาคภูมิใจและจิตวิญญาณความเป็น”ราชภัฏ” โดยขับเคลื่อนด้วย SNRU  Powerment Model : พลัง “ราชภัฏ” สู่การพัฒนา “ท้องถิ่น” อันนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายก่อเกิดเป็นประสิทธิผลของ 4 ยุทธศาสตร์ คือความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏ การสร้างครูคุณภาพสู่สังคมไทย โดยมีศักยภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้และคุณลักษณะ 4 ให้แก่เยาวชนทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม และการสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะ 4 ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า